วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




จุดประสงค์หลักในการจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้าง

1. อนุรักษ์ให้ร่มบ่อสร้าง มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยให้คงอยู่ตลอดไป
2. ส่งเสริมให้หมู่บ้านทำร่มคงอยู่ในแผนท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ตลอดไป
3. สนับสนุนให้บ้านบ่อสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นจุดดึงให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เดินทางไปยังท้องถิ่นที่ผลิตอันเป็นผลให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน
4. ยกระดับมาตรฐานการผลิต ตลอดจนการพัฒนารูปแบบให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งมีผลสืบเนื่องต่อการขยายตลาดให้กว้างออกไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นและในปี 2526 ได้มีการจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างเป็นปีแรก ปรากฎว่างานนี้ได้รับความชื่นชมจากผู้ไปเที่ยวงานมาก เนื่องจากเป็นลักษณะการจัดงานที่แตกต่างจากงานเทศกาลอื่นๆ โดยลักษณะงานเป็นแบบ “Street Fair” กล่าวคือ ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านบ่อสร้าง ซึ่งขนานกันตลอดแนวถนน ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดงาน โดยตกแต่งบ้าน และร้านค้าต่างๆ เป็นแบบล้านนาไทย ใช้ร่มสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตกแต่งพร้อมทั้งประดับประทีปโคมไฟแบบพื้นเมือง มีกิจกรรมประกวดการแข่งขัน นิทรรศการ การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน มหรสพนานาชนิด ตลอดทั้งวันทั้งคืน


http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/chiangmai/data/pic-bosang-umbrella.htm

เทศกาลร่มบ่อสร้าง

   


     ในทุกๆ ปีที่ผ่านมากิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นจะมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอๆ แต่ทั้งนี้ก็จะมีกิจกรรมหนักๆ ของงาน คือ การจัดแต่งสถานที่แบบหมู่บ้านล้านนาไทย ซึ่งมีการจำลองชีวิตความเป็นอยู่ของคนพื้นเมือง เช่น หมู่บ้านชาวเขา มีการสาธิตชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการเย็บปักถักร้อย อันเป็นงานฝีมือการแสดงผลิตภัณฑ์ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ และการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ และการแสดงของชาวเขาในบริเวณลานแสดงของหมู่บ้าน มีการประกวดประดับตกแต่งร้านให้สวยงาม เป็นการสร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวา และเป็นเอกลักษณ์ของงานให้เด่นชัดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสาธิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านทางภาคเหนือ เช่น การทอผ้า การทำร่ม เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ฯลฯ และการแสดงพื้นบ้าน
ที่สำคัญในงานเทศกาลร่มบ่อสร้างจะมีการจัดมหกรรมร่ม หรือร่มโชว์นานาชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากสถานทูตประเทศต่างๆ เป็นอย่างดี ในการส่งร่มของประเทศตนมาแสดง เพื่อให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างซึ่งกันและกัน อาทิ ร่มของพม่า บาหลี ฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ นอกจากนั้นยังจัดให้มีการประกวดและแข่งขันการวาดลวดลายร่มทุกขนาด ทั้งประเภทวาดรูปแบบดั้งเดิมหรือประเภทออกแบบใหม่ แต่ต้องคงความเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาไทยไว้ด้วย
     นอกจากนี้ยังมีการประกวดสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ เป็นต้นว่า การประกวดผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก กระดาษสา ซึ่งเป็นวัสดุในการทำร่ม เช่น ดัดแปลงมาเป็นพัด โคม หรือสินค้าของที่ระลึกได้อีกหลายอย่าง การประกวดตุงหรือธงตะขาบการประกวดโคมลอย ประกวดธิดาบ่อสร้าง และแม่ญิงขี่รถถีบก๋างจ้อง ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มบรรยากาศของงาน และยังมีการจัดกาดมั่ว หมายถึง บรรยากาศแบบตลาดพื้นบ้าน ให้ผู้คนเลือกซื้อสินค้าอาหารกันอย่างสะดวก หรือแม้กระทั่งถ้าต้องการรับประทานอาหารตามประเพณีชาวเหนือ ก็จะมีรายการขันโตกดินเนอร์” ระหว่างงานอีกด้วย
ส่วนการแสดงทางวัฒนธรรมจะบรรจุรายการแสดงพื้นบ้าน ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน เช่น บนเวทีใหญ่ก็จะมีการฟ้อนต่างๆ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนไต ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา และฟ้อนจ้องฯลฯ การแสดงการแต่งกาย ชุดล้านนาไทยในอดีตที่หาชมได้ยากยิ่งและมี การแสดงบรรยากาศของขบวนแห่พิธีบวชลูกแก้ว” หรือปอยน้อย และขบวนแห่ปอยหลวง” ซึ่งเป็นประเพณีที่ควรอนุรักษ์ไว้ทั้งสิ้น






ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย









ขอขอบคุณ

- รายการ ศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง สันกำแพง เชียงใหม่ By.เขียดนอกกะโล่ง #ฅนฟิล์ม
- รายการ กบนอกกะลา “การเดินทางของร่ม”

รายการ 


การเดินทางไปร่มบ่อสร้าง

หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้างอยู่ในเขต อำเภอสันกำแพง ถือเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาชมการทำร่มจากชาวบ้าน ตั้งแต่กรรมวิธีในการทำ การลงลวดลายที่วิจิตรสวยงาม ซึ่งร่มที่ทำมีด้วยกัน 3 ชนิด ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร, ผ้าฝ้าย และ กระดาษสา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ให้นักท่องเที่ยวเมื่อมาเชียงใหม่ต้องมาดู มาชม และมาเลือกซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับไปนั่นเอง


การเดินทางไปร่มบ่อสร้าง

1. รถยนต์ส่วนตัว
จากตัวเมืองเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านบ่อสร้าง
2. รถโดยสารสารธารณะ 
นั่งรถสองแถวสายเชียงใหม่-สันกำแพง คิวรถอยู่ที่ประตูช้างเผือก นั่งไปจนถึงจนทางแยกจะเห็นป้ายใหญ่ตรงแยก เขียนว่า "ศูนย์ทำร่มบ่อสร้าง" ให้ลงตรงทางแยกแล้วเดินข้ามฝั่งไปยังอาคารศูนย์ทำร่ม หากไม่ทราบถามชาวบ้าน ที่อยู่ในบริเวณได้


ที่มา : http://www.chillpainai.com/travel/148/, http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangmai/borsang.html

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ร่มบ่อสร้าง






      "ร่มบ่อสร้าง"เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้นสะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด3ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน ปัจจุบันถ้าหากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิต ไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม ไปตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง9กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไป

    ลักษณะของร่มที่ดี

    - มีรูปทรงสวยงาม

    - โครงร่มและส่วนประกอบของร่มจะต้องมีความเรียบร้อยแข็งแรง

    - กระดาษที่ใช้ปิดร่มมีความหนาพอสมควร

    - สีและน้ำมันที่ใช้ทาไม่ตกและหลุดลอกได้ง่าย

    - เวลาใช้สามารถกางขึ้นลงได้สะดวก

    การทำร่มเพื่อให้มีคุณภาพดี

    1.คัดเลือกวัตถุดิบเอาแต่ชนิดที่มีคุณภาพดี

    2.กรรมวิธีในการผลิต นับว่ามีความมีสำคัญมากเพราะร่มจะมีคุณภาพดีมีความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทั้งสิ้นการประกอบร่มทุกขั้นตอนจะต้องทำ ด้วยความประณีตเสมอ

    3.การเก็บรักษาร่ม และส่วนประกอบของร่มจะต้องมีการป้องกันตัวแมลงต่างๆ มิให้มาทำลายร่มได้ส่วนประกอบของร่มที่เป็นไม้ไผ่ควรจะได้รับการแช่น้ำยาเพื่อป้องกันแมลงเสียก่อน




    ร่มบ่อสร้างนำไปทำอะไรได้เยอะกว่าที่คุณคิด

    -
    นำไปตกแต่งบ้าน หรือสวน ด้วยร่มถือ หรือ ร่มสนาม
    -
    นำไปเป็นของชำร่วย หรือ ของรับไหว้ งานแต่งงาน เช่น ร่มกระดาษสา หรือ ร่มผ้าแพรรัศมี 5 นิ้ว
    หรือร่มผ้าแพร และร่มผ้าเคลือบสีน้ำมัน สีล้วนหรือเพ้นท์ลาย เหมาะเป็นของรับไหว้ที่สร้างบรรยากาศ ความเป็นไทย
    -
    นำไปใช้เป็นร่มสำหรับเดินขบวนขันหมาก กันทั้งแดด และฝนได้
    เพิ่มสีสันให้กับขบวนขันหมาก เช่น ร่มผ้าแพร รัศมี 14นิ้ว หรือ 17 นิ้ว
    -
    นำไปใช้ให้ผู้เดินขบวนต่างๆ เพิ่มความสวยงาม และยังกันแดด กันฝน ทำให้กับผู้ร่วมเดินขบวน
    ทั้งยังสามารถเพ้นท์ตัวอักษร เพื่อเป็นของที่ระลึกได้
    -
    นำไปใช้เป็นของขวัญสำหรับลูกค้า สามารถสกรีนโลโก้บริษัท ได้
    -
    นำไปตกแต่งงานสถานที่จัดงาน Event ต่างๆ เช่นร่มผ้าแพร ที่ไม่เพ้นท์ลายและไม่ใส่ไหม หรือเป็นร่มผ้าเคลือบสีน้ำมันสีล้วน
    -
    นำไปทำเป็นช่อกฐิน เช่น ร่มผ้าแพร รัศมี 10 นิ้ว หรือ 12 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. และ 60 ซม. ตามลำดับ
    -
    นำไปตกแต่งเพดาน ด้วยร่มผ้าเคลือบสีน้ำมัน รัศมี 12 นิ้ว, 14 นิ้ว หรือ รัศมี 17 นิ้ว แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า
    -
    นำไปใช้เป็นอุปกรณ์เชียร์ ที่ช่วยสร้างสีสันในการเชียร์ได้เป็นอย่างดี เช่น ร่มผ้าแพร รัศมี 7 นิ้ว หรือ 5 นิ้ว หรือ 10 นิ้ว
    -
    นำไปทำบุญถวายร่มให้กับพระสงฆ์ เช่น ร่มโบราณ ที่มีด้ามจับที่ยาว และตัวร่มกว้าง
    -
    นำไปจัดตกแต่ง ซุ้มประตู เช่นร่ม 3 ชั้น, ร่มโบราณ, ร่มผ้าเคลือบสี้น้ำมัน หรือ ร่มผ้าแพร เป็นต้น
    -
    นำไปใช้เป็น ของขวัญสำหรับญาติผู้ใหญ่ หรือ เพื่อน
    -
    นำไปใช้ ในกิจกรรมสร้างสรร ให้แขก หรือ พนักงาน หรือ เด็กนักเรียน เพ้นท์ร่ม
    เช่น ร่มผ้าแพร รัศมี 5 นิ้ว, 10 นิ้ว, 12 นิ้ว, 14 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว


    ที่มา http://cmrulocalinformaiton.blogspot.com/2011/10/blog-post_9127.html